พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล

พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล

เหตุผลประการสำคัญที่ส่งผลให้พราหมณ์เข้ามามีบทบาทในราชสำนักสยามทุกยุคทุกสมัย เนื่องจากศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่มีการส่งเสริมพิธีกรรมและความศักดิ์สิทธิ์ เสริมสร้างพระราชอำนาจให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์ ยกย่องเชิดชูพระมหากษัตริย์เปรียบประดุจดังอวตารของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ด้วยเหตุนี้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร จะต้องซื่อสัตย์และแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ผ่านพระราชพิธีพราหมณ์อันเข้มขลังและศักดิ์สิทธิ์

พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล หรือ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นพระราชพิธีสำคัญของบ้านเมืองที่สืบทอดมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กระทำเป็นประจำในเดือน ๕ ขึ้น ๓ ค่ำ และเดือน ๑๑ แรม ๑๓ ค่ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความจงรักภักดีในหมู่ข้าราชการ เจ้าเมือง เจ้าประเทศราช ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ ต่อพระมหากษัตริย์

บทบาทที่สำคัญของพราหมณ์ในพระราชพิธีนี้คือ การประกอบพิธีเสกน้ำศักดิ์สิทธิ์ด้วยการนำพระแสงศาสตราวุธของพระมหากษัตริย์ลงแช่ในน้ำ และอ่านโองการแช่งน้ำ เพื่อหมายให้ผู้คิดคดทรยศต่อแผ่นดิน ได้รับโทษทัณฑ์ต่างๆ ระหว่างการเสกน้ำ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ มีการประโคมแตรสังข์ พิณพาทย์ ฆ้องชัย ไปตลอดจนกว่าจะทำน้ำเสร็จแล้ว นอกจากนี้คณะพราหมณ์ยังได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวง

นับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๕ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลได้ว่างเว้นไปนานเกือบ ๔๐ ปี จนถึงพุทธศักราช ๒๕๑๒ ในโอกาสที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีแก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันพระราชอาณาจักร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรดาผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีต้องถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาด้วย

ที่มา: เทวสถาน มรดกวัฒนธรรมบนแผ่นดินไทย หนังสือที่ระลึกโครงการบูรณปฏิสังขรณ์เทวสถาน สำหรับพระนคร. (๒๕๕๖). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล

พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล

เหตุผลประการสำคัญที่ส่งผลให้พราหมณ์เข้ามามีบทบาทในราชสำนักสยามทุกยุคทุกสมัย เนื่องจากศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่มีการส่งเสริมพิธีกรรมและความศักดิ์สิทธิ์ เสริมสร้างพระราชอำนาจให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์ ยกย่องเชิดชูพระมหากษัตริย์เปรียบประดุจดังอวตารของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ด้วยเหตุนี้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร จะต้องซื่อสัตย์และแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ผ่านพระราชพิธีพราหมณ์อันเข้มขลังและศักดิ์สิทธิ์

พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล หรือ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นพระราชพิธีสำคัญของบ้านเมืองที่สืบทอดมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กระทำเป็นประจำในเดือน ๕ ขึ้น ๓ ค่ำ และเดือน ๑๑ แรม ๑๓ ค่ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความจงรักภักดีในหมู่ข้าราชการ เจ้าเมือง เจ้าประเทศราช ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ ต่อพระมหากษัตริย์

บทบาทที่สำคัญของพราหมณ์ในพระราชพิธีนี้คือ การประกอบพิธีเสกน้ำศักดิ์สิทธิ์ด้วยการนำพระแสงศาสตราวุธของพระมหากษัตริย์ลงแช่ในน้ำ และอ่านโองการแช่งน้ำ เพื่อหมายให้ผู้คิดคดทรยศต่อแผ่นดิน ได้รับโทษทัณฑ์ต่างๆ ระหว่างการเสกน้ำ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ มีการประโคมแตรสังข์ พิณพาทย์ ฆ้องชัย ไปตลอดจนกว่าจะทำน้ำเสร็จแล้ว นอกจากนี้คณะพราหมณ์ยังได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวง

นับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๕ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลได้ว่างเว้นไปนานเกือบ ๔๐ ปี จนถึงพุทธศักราช ๒๕๑๒ ในโอกาสที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีแก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันพระราชอาณาจักร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรดาผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีต้องถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาด้วย

ที่มา: เทวสถาน มรดกวัฒนธรรมบนแผ่นดินไทย หนังสือที่ระลึกโครงการบูรณปฏิสังขรณ์เทวสถาน สำหรับพระนคร. (๒๕๕๖). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์