พระราชพิธีสิบสองเดือน

หน้าที่สำคัญของพราหมณ์เทวสถานอีกประการหนึ่งนอกเหนือจากการประกอบพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์แล้ว พราหมณ์เทวสถานยังมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ประกอบพระราชพิธีสิบสองเดือนเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมือง

หนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้อธิบายถึงพระราชพิธีสำคัญตลอดปีของกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งได้กระทำต่อเนื่องมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นพิธีที่มีเค้ามาจากศาสนาพราหมณ์เกือบทั้งหมด ยกเว้นเพียงพระราชพิธีเข้าพรรษาที่เป็นพระราชพิธีเนื่องในพุทธศาสนา นอกจากนั้นเป็นพระราชพิธีอันเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ทั้งสิ้น ได้แก่ พระราชพิธีตรียัมปวายและตรีปวาย พระราชพิธีจองเปรียง พระราชพิธีกะติเกยา พระราชพิธีคเชนทรัศวสนาน เป็นต้น

พระราชพิธีเหล่านี้เป็นพิธีพราหมณ์โดยแท้ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปีไม่เคยขาด มีจุดประสงค์เพื่อบูชาเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ จึงต้องประกอบพิธีอย่างถูกต้องตามตำราพระราชพิธี โดยพราหมณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเสมอ

พระราชพิธีสิบสองเดือนที่กำหนดไว้เป็นพระราชพิธีซึ่งพระมหากษัตริย์ได้ทรงประกอบเป็นการมงคลสำหรับพระนครทุกปีมิได้ขาด ได้แก่

เดือนห้า พระราชพิธีเผด็จศก ลดแจตรออกสนาม
เดือนหก            จรดพระราชนังคัล
เดือนเจ็ด ทูลน้ำล้างพระบาท
เดือนแปด เข้าพรรษา
เดือนเก้า ตุลาภาร
เดือนสิบ            ภัทรบทพิธีสารท
เดือนสิบเอ็ด อาศยุชยแข่งเรือ
เดือนสิบสอง พิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม
เดือนอ้าย ไล่เรือ เถลิงพิธีตรียัมพวาย
เดือนยี่  การพิธีบุษยาภิเษก เฉวียนพระโคกินเลี้ยง
เดือนสาม การพิธีธานยเทาะห์
เดือนสี่  การพิธีสัมพัจฉรฉินท์

ปัจจุบันพระราชพิธีสิบสองเดือนที่เป็นพิธีพราหมณ์คงเหลือเพียง ๓ พิธี คือ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล พระราชพิธีจรดพระราชนังคัลหรือพิธีแรกนา และพระราชพิธีตรียัมปวายและตรีปวาย เท่านั้น

ที่มา: เทวสถาน มรดกวัฒนธรรมบนแผ่นดินไทย หนังสือที่ระลึกโครงการบูรณปฏิสังขรณ์เทวสถาน สำหรับพระนคร. (๒๕๕๖). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

พระราชพิธีสิบสองเดือน

หน้าที่สำคัญของพราหมณ์เทวสถานอีกประการหนึ่งนอกเหนือจากการประกอบพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์แล้ว พราหมณ์เทวสถานยังมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ประกอบพระราชพิธีสิบสองเดือนเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมือง

หนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้อธิบายถึงพระราชพิธีสำคัญตลอดปีของกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งได้กระทำต่อเนื่องมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นพิธีที่มีเค้ามาจากศาสนาพราหมณ์เกือบทั้งหมด ยกเว้นเพียงพระราชพิธีเข้าพรรษาที่เป็นพระราชพิธีเนื่องในพุทธศาสนา นอกจากนั้นเป็นพระราชพิธีอันเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ทั้งสิ้น ได้แก่ พระราชพิธีตรียัมปวายและตรีปวาย พระราชพิธีจองเปรียง พระราชพิธีกะติเกยา พระราชพิธีคเชนทรัศวสนาน เป็นต้น

พระราชพิธีเหล่านี้เป็นพิธีพราหมณ์โดยแท้ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปีไม่เคยขาด มีจุดประสงค์เพื่อบูชาเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ จึงต้องประกอบพิธีอย่างถูกต้องตามตำราพระราชพิธี โดยพราหมณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเสมอ

พระราชพิธีสิบสองเดือนที่กำหนดไว้เป็นพระราชพิธีซึ่งพระมหากษัตริย์ได้ทรงประกอบเป็นการมงคลสำหรับพระนครทุกปีมิได้ขาด ได้แก่

เดือนห้า พระราชพิธีเผด็จศก ลดแจตรออกสนาม
เดือนหก            จรดพระราชนังคัล
เดือนเจ็ด ทูลน้ำล้างพระบาท
เดือนแปด เข้าพรรษา
เดือนเก้า ตุลาภาร
เดือนสิบ            ภัทรบทพิธีสารท
เดือนสิบเอ็ด อาศยุชยแข่งเรือ
เดือนสิบสอง พิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม
เดือนอ้าย ไล่เรือ เถลิงพิธีตรียัมพวาย
เดือนยี่  การพิธีบุษยาภิเษก เฉวียนพระโคกินเลี้ยง
เดือนสาม การพิธีธานยเทาะห์
เดือนสี่  การพิธีสัมพัจฉรฉินท์

ปัจจุบันพระราชพิธีสิบสองเดือนที่เป็นพิธีพราหมณ์คงเหลือเพียง ๓ พิธี คือ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล พระราชพิธีจรดพระราชนังคัลหรือพิธีแรกนา และพระราชพิธีตรียัมปวายและตรีปวาย เท่านั้น

ที่มา: เทวสถาน มรดกวัฒนธรรมบนแผ่นดินไทย หนังสือที่ระลึกโครงการบูรณปฏิสังขรณ์เทวสถาน สำหรับพระนคร. (๒๕๕๖). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์