๑. 
ฤคเวท แสดงประวัติศาสตร์ของโลก ไม่ว่าจะเป็นเทวโลก มนุษย์โลก หรือเคราะหโลกต่างๆ ที่มีอยู่ในห้วงอวกาศ อุปเวทของฤคเวทก็คือ อายุรเวท คือ แพทยศาสตร์
๒. 
สามเวท  แสดงกลศาสตร์หรือศิลปะศาสตร์ต่างๆ ตวมทั้งสังคีตศาสตร์ด้วย
อุปเวทของสามเวทก็คือ คนฺธรฺวเวท หรือ คันธรรพเวท ซึ่งมีวิธีใช้ศิลปะแห่งการดนตรีเข้าช่วยให้ตั้งเป็นสมาธิได้
๓.
ยชุรเวท แสดงพิธีบูชาบวงสรวงต่างๆ ที่เรียกว่า ยชฺญกรรม หรือ ยัญญกรรม
อุปเวทของยชุรเวทก็คือ ธนุรเวท ซึ่งมีวิธีการสร้างอาวุธต่างๆ
๔.
อาถรรพเวท  แสดงการใช้เวทมนตร์เพื่อให้เกิดผลดีหรือผลร้ายขึ้น
อุปเวทของอาถรรพเวทก็คือ ศิลปะเวท ได้แก่วิชาศิลปะต่างๆ

นอกจากนี้ก็ยังมีคัมภีร์อุปนิษัทอีกจำนวนหนึ่ง ที่รจนาขึ้นเพื่อบรรยายความหมายของพรเวท แต่ต่อมามหาฤษีวยาสมุนี ได้ตระหนักว่ายังมีคนอีนับจำนวนไม่น้อย ที่ไม่สามารจะตีความหมายในพระเวทให้เข้าใจได้ จึงได้รจนาคัมภีร์ปุราณขึ้นอีก ๑๘ เล่ม และคัมภีร์อุปปุราณอีก ๑๘ เล่ม เพื่อบรรยายหรืออธิบายข้อความและความหมายของคัมภีร์พระเวทที่ยังยากแก่ความเข้าใจ โดยยกเอาเรื่องจริงๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์หรือเหตุการณ์ร่วมสมัยมากล่าวเป็นตัวอย่าง ประกอบคำอธิบายและใช้นิทานเรื่องต่างๆ เข้ามาสาธกด้วยเพื่อเป็นอุทธาหรณ์ประกอบให้เข้าใจชัดเจนขึ้น

เพราะฉะนั้น ตั้งแต่เริ่มต้นมาจนกระทั่งถึงบัดนี้ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จึงถือกันว่าในทางสนาตนธรรมแล้วมีพระคัมภีร์หรือตำราที่ยกย่องกันในศาสนาตั้งนี้

๑.  พระเวท                             มีจำนวน                 ๔             เล่ม
๒.  อุปเวท                                   “                                        ๔             เล่ม
๓.  ศาสตร์                                    “                                        ๖             เล่ม
๔.  อุปนิษัท                                 “                                        ๑๐๘        เล่ม
๕.  ปุราณ                                     “                                        ๑๘          เล่ม
๖.  อุปปุราณ                                 “                                       ๑๘          เล่ม

นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์อื่นๆ ที่เป็นทำนองอรรถาธิบายคัมภีร์พระเวทอีกมากมาย เช่น คัมภีร์สังหิตา คัมภีร์พระพรหมครันถ์  เป็นต้น รวมกันแล้วนับได้หลายพันเล่ม

แต่คัมภีร์ที่นับว่าเป็นสาระแห่งพระคัมภีร์ทั้งหลายยังมีอีก ๒ เล่ม คือ คัมภีร์มหาภารต ในคัมภีร์เล่มนี้เองมีอยู่ตอนหนึ่งชื่อ ศรีมัทภควัทคีตา นับว่าเป็นตอนที่สำคัญที่สุด เป็นที่ยอมรับของนักคิดนักการศาสนาและนักปรัชญาทุกระบบ หลักธรรมคำสอนในภควัทคีตาก็มีที่มาจากแหล่งคัมภีร์อุปนิษัท ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของคัมภีร์พระเวทเหมือนกัน

อีกเล่มหนึ่งได้แก่ คัมภีร์รามายณะ ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ทราบเรื่องราวกันดีอยู่แล้ว แต่ในทรรศนะของพราหมณ์-ฮินดู ถือกันว่า พระรามแห่งนครอโยธา เป็นอุทาหรณ์แห่งการปฏิบัติเยี่ยงมนุษย์ ผู้อุดมคุณธรรมอันดีงามในทุกๆ ด้าน และทุกแง่ ทุกมุม เป็น “อุดมเลิศบุรุษ” เพราะฉะนั้น ปราชนจึงพร้อมใจกัน ยกย่องนามของพระราม ให้มีคำคุณศัพท์นำไว้ข้างหน้าว่า “มรฺยาทาปุรุโษตฺตม” ส่วนมากก็เรียกกันว่า มรฺยาทปุรุโษตฺตมราม แปลว่า พระรามผู้มีมรรยาทเลิศบุรุษ

อันที่จริงแล้ว คัมภีร์ “รามายณะ” ก็คือ ประวัติหรือเรื่องราวของพระรามนั่นเอง แต่ทว่าชาวพราหมณ์-ฮินดูเช่นกันว่า พระรามเป็นอวตาลปางที่ ๗ ของพระวิษณุ (ในนารายณ์สิบปาง หรือทศาวตรารของพระวิษณุ) และเป็นผู้มีคติวิเศษในการปฏิบัติมนุษยธรรม เพราะฉะนั้น ประวัติของพระรามจึงเป็นเรื่องราวอันบริสุทธิ์ยิ่ง สมควรเป็นตัวอย่าง ในการบำเพ็ญชีวิตของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี และด้วยประการฉะนี้ เรื่องรามายณะจึงได้กลายเป็นคัมภีร์สำคัญทางศาสนาไปอีกเล่มหนึ่ง

เรื่องรามยณะแสดงประวัติของพระรามฉันใด เรื่อ มหาภารตก็แสดงประวัติชีวิตของพระกฤษณะฉันนั้น เพราะพระกฤษณะเป็นอวตารปางที่ ๘ ของพระวิษณุ คำสั่งสอนของพระกฤษณะที่เรียกว่า “ศรีมทฺภควทฺคีตา” นั้น กล่าวได้ว่าเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งปวง เพราะฉะนั้น ทั้งมหาภารต รามายณะ และ ภควัทคีตา  ต่างก็ได้รับความยกย่องเป็นอย่างสูงว่า เป็นคัมภีร์ทางศาสนา ที่ชาวพราหมณ์-ฮินดู ต่างก็ภาคภูมิใจยิ่ง

ในปัจจุบันเกือบจะกล่าวได้ว่า ทุกๆ ครอบครัวทั้งในและนอกประเทศอินเดีย มีพระคัมภีร์เหล่านี้ไว้ในความครอบครองของตน นอกจากจะถือว่าเป็นวรรณกรรมชิ้น สำคัญแล้ว ยังถือว่าเป็นคัมภีร์ที่ให้บทเรียนทางปรัชญา ศาสนา และ จริยธรรมในหลายด้าน จนได้รับการแปลออกสู่ภาษาต่างๆ หลายภาษา กล่าวได้ว่าเป็นคัมภีร์แห่งมนุษยธรรมก็ว่าได้

ในคัมภีร์ของ สนาตนธรรมทุกๆ คัมภีร์ ได้สอนไว้ว่า ชีวคือวิญญาณนี้ไม่มีวันต่ายและไม่มีวันสูญสลายไปเลย ย่อมมีอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์นิรันดร์ เพียงแต่ว่าหมุนเวียนอยู่โดยกรรมคติที่กระทำอยู่ตลอดเวลา สนาตนธรรมที่ได้กล่าวมาตั้งแต่เริ่มต้นนี้ มีอยู่ด้วยกันหลายสาขา เช่น สมารฺต ไวษณพ ไศวะ ศากฺต อารฺยสมาช เป็นต้น

สัญลักษณ์ทางศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

สัญลักษณ์ทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู สำคัญที่สุด คือ ตัวอักษร     ***   อ่านว่า โอมฺ มาจาก อ + อุ + ม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนพระตรีมูรติเทพ คือ

 

หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7