ที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนา และสั่งสอนพระเวทวิชาการต่าง ๆ เป็นอย่างดี

จากตำนานที่มีอยู่ และ ข้อสันนิษฐานต่าง ๆ เมื่อรวมกันแล้วจะเห็นว่าวิชาการต่าง ๆ ที่ได้ร่ำเรียนกันมา
ในสมัยพันกว่าปีลงมานี้ ได้อาศัยวิชาในแขนง อุปเวท อาถรรพเวท เป็นส่วนมาก เช่นอายุรเวท ว่าด้วย
ทาง เภสัชการปรุงยาและการแพทย์ทุกแขนง นิติเวท ว่าด้วยการปกครองกฏหมาย ระเบียบแบบแผน
ของบ้านเมือง เป็นต้น ตลอดจนวรรณคดี เช่น หนังสือสมุทโฆษคำฉันท์ฉบับที่พระมหาราชครูแต่งและ
หนังสือจินดามณี ต้นตำราการเรียนภาษาไทย ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้พระยาโหราธิบดี
(พราหมณ์) แต่งเอาไว้ เพื่อใช้สอนกันมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์นี้ เป็นต้น ฉะนั้น ในสมัยก่อนที่ปรึกษา
ราชการงานเมือง จึงมีพราหมณ์ปุโรหิตอยู่ด้วยเสมอ เพราะโดยตำแหน่งเป็นอาจารย์สอนวิชาการต่าง ๆ
ด้วย นี่เองเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สถาบันกษัตริย์ของไทยเรา จึงมีพราหมณ์เข้าไปเกี่ยวข้องในราชสำนักสืบ
มาจนถึงแม้กระทั่งทุกวันนี้กล่าวโดยปริยายส่วนสูง ก็เพื่อเป็นการช่วยสงเคราะห์สังคมนั่นเอง

จากการวิวัฒนาการต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปจากวิวัฒนาการเดิม มาเป็นการรักษาประเพณีของ ชาติและ ขนบธรรมเนียม อันเป็นมงคลให้บังเกิดอิทธิฤทธิ์ ตามคัมภีร์ไสยศาสตร์ในด้านอาถรรพเวท เช่น พระราชพิธืถือน้ำพิพัฒน์ สัตยา พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพธีตั้งหลักเมือง พระราชพีตรียัมพวาย – ตรีปวาย พระราชพีบรมราชาภิเษก

พระอัฐยาปรีชาธิบดีโหระดาจารย์ ปลัดพระครูพิเชต นา ๓๐๐๐
พระญาณประกาษอธิบดีโหระดาจารย์ นา ๓๐๐๐
พระศรีลังกอรอธิบดีโหระดาจารย์ นา ๓๐๐๐
ขุนไชยอาญามหาวิสุทธิปรีชาจารย์ นา ๑๕๐๐
ขุนจินดาพิรมยพรมเทพวิสุทธิวงษาจารย์ นา ๑๕๐๐
พระมหาราชครู พระราชประโรหิตาจารย์ ราชสุภาวดีศรีบรมหงษ์องคปุริโสดมพรหมญาณวิบุลสิลสจริตวิวิทธเวทยพรหมพุทธาจารย์ นา ๑๐๐๐๐
พระราชครู พระครูพิรามราชสุภาวดีตรีเวทจุทามะณีศรีบรมหงษ์ นา ๕๐๐๐
พระเทพราชธาดาบดีศรีวาสุเทพ ปลัดพระราชครูประโรหิต นา ๓๐๐๐
พระจักปานีศรีสิลวิสุทธิ ปลัดพระครูพิราม นา ๓๐๐๐
พระเกษมราชสุภาวดีศรีมณธาดูลราช เจ้ากรมแพ่งกระเษม นา ๓๐๐๐
ขุนสุภาเทพ ๑ ขุนสุภาพาน ๑ ปลัดนั่งศาล นา ๔๐๐
ขุนหลวงพระไกรศรีราชสุภาวดีศรีมณธาดูลราช เจ้ากรมแพ่งกลาง นา ๓๐๐๐
ขุนราชสุภา ๑ ขุนสุภาไชย ๑ ปลัดนั่งศาล นา ๔๐๐
พระครูราชพิทธีจางวาง นา ๑๐๐๐
พระครูอัศฎาจารย์เจ้ากรม นา ๘๐๐
หลวงราชมณี ปลัดกรม นา ๖๐๐
ขุนพรมไสมย ครูโล้ชิงช้า นา ๔๐๐
ขุนธรรมณะรายสมุบาญชีย นา ๓๐๐
ขุนในกรม นา ๓๐๐
หมื่นในกรม นา ๒๐๐
พราหมณ์เลวรักษาเทวสถาน นา ๕๐
พระอิศวรธิบดีศรีสิทธิพฤทธิบาทจางวาง นา ๑๐๐๐
หลวงสิทธิไชยบดี เจ้ากรม นา ๘๐๐
หลวงเทพาจาริยรองพระดำรับชวา นา ๖๐๐
หลวงอินทาไชยไชยาธิบดีศรียศบาทรองพระตำรับซ้าย นา ๖๐๐
ขุนในกรมพฤทธิบาท นา ๓๐๐
หมื่นในกรมพฤทธิบาท นา ๒๐๐
ประแดงราชมณี นา ๒๐๐

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พราหมณ์ชาวอุตตรประเทศ และปัญจาบ ได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมการ โดยที่ศาสนิกพราหมณ์ ที่มาจากปัญจาบทำกิจการค้าขายผ้า ๙๙% ศาสนิกพราหมณ์ที่มาจากอุตตรประเทศ ประกอบกิจการประเภทรับจ้างและราชการ เป็นต้น ใน พ.ศ. ๒๔๒๒ ศาสนิชกพราหมณ์จากทางภาค ใต้ของอินเดียที่อยู่ในประเทศไทย ได้ร่วมกัน จัดสร้างศาลาเล็ก ๆ สำหรับประดิษฐานเทวรูปพระแม่อุมาเทวี เพื่อให้ศาสนิกพราหมณ์ทั้งหลายได้เคารพบูชา เมื่อ จำนวนศาสนิกมากขึ้น จึงไปจัดสร้างวัดวิษณุ โดย ศาสนิกพราหมณ์อุตตรประเทศร่วมกันจัดสร้าง

ศาสนิกชาวปัญจาบแบ่งเป็น ๒ พวก คือ ซิกข์ และพราหมณ์ฮินดู (ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าวรรณะแพศย์) ได้ใช้สถานที่ ร่วมกันปฏิบัติศาสนกิจที่บ้านบริเวณหลังวังบูรพา เมื่อมีศาสนิกเพิ่มมากขึ้นจึงแยกกัน โดยที่ศาสนิกพราหมณ์ฮินดู ไปสร้างฮินดูสมาชขึ้นที่บริเวณใกล้เสาชิงช้า (คือบริเวณฮินดูสมาชที่ ปรากฏอยู่บัดนี้) ต่อมาชาวภารตรวบรวมกันจัด ตั้งสถาบันขึ้นพร้อมกับสมาคมฮินดูธรรมสภา เรียกว่า อารยสมาช (เป็นพราหมณ์ฮินดูที่ถือธรรมะเป็นศาสนา ไม่บูชานับถือรูปเคารพใด ๆ )

การปกครองของพราหมณ์ในปัจจุบัน

พราหมณ์ได้รับพระราชทานตำแหน่งจากพระมหากษัตริย์ ให้มีตำแหน่งเป็น
๑. พระมหาราชครู
๒. พระราชครู
๓. พระครู
๔. พราหมณ์พิธีฃ

ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ถวาย โดยขึ้นตรงกับกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง

ลำดับตำแหน่งของพราหมณ์ในพระราชสำนัก
๑. พระมหาราชครู , พระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้า หรือ ประธานพระครูพราหมณ์
๒. พระครูอัษฎาจารย์ ตำแหน่งเป็นผู้ช่วยฝ่ายเลขา
๓. พระครูสตานันทมุนี ตำแหน่งเป็นผู้ช่วยฝ่ายซ้าย
๔. พระครูศิวาจารย์ ตำแหน่งเป็นผู้ช่วยทั่วไป
๕. พราหมณ์ ผู้จัดเตรียมพิธีกรรม

หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7