ผู้ที่จะได้เป็นพระอินทร์นี้ ตามตำรับทางไสยศาสตร์ว่า จะต้องเป็นผู้ที่ได้เคยทำพิธีอัศวเมธถึง1,000ครั้ง
ผลของอานิสงส์จึงจะส่งให้เป็นถึงพระอินทร์ได้และพระอินทร์นี้เป็นใหญ่อยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

กำเนิดของพระอินทร์ว่า เป็นโอรสพระกัศยปเทพบิดร และพระอทิติเป็นแม่ นามของเธอมีเป็นอันมาก
ว่าเฉพาะที่เรียกกันเสมอ เช่น สหัสนัยน์(พันตา) เมฆวาหนะ(ขี่เมฆ) เพชรปาณี(ผู้ถือวัชระ) มรุตวาน
(เจ้าแห่งลม) ศักระ(ผู้กล้า) มเหนทร์ (ประมุขหรือหัวหน้า) มัฆวาน(ผู้ทรงความอุดมสมบูรณ์) อมรินทร์
เป็นต้น รูปร่างพระอินทร์ในยุคไตรเพทว่าผิวกายเป็นสีแสดหรือสีทอง แต่ในชั้นหลังๆว่าสีนวล ส่วนของเรา
ว่าสีเขียว จะมีที่มาอย่างไรยังค้นไม่พบ รูปเขียนต่างๆแม้จะมาจากอินเดียก็เขียนเป็นสีเขียวคงไม่ใช่พวกเรา
มาเปลี่ยนสีพระอินทร์เอาเอง

เธอมีแขนยาวมากและเปลี่ยนรูปได้ตามใจนึก โปรดถือวัชระกว่าอย่างอื่น วัชระนี้เธอใช้ปราบพฤตราสูร
(ผีร้ายแห่งความแห้งแล้งของฤดูกาล) อาวุธอย่างอื่นก็ยังมีอีก คือ ศรชื่อศักรธนู พระขรรค์ชื่อปรัญชะ
ขอและร่างแห(สำหรับใช้ตลบศัตรู) มีรถทองเทียมด้วยม้าสีแดง ชื่อวิมาน หรือเวชยันต์) มีม้าสำหรับ
ทรงสีขาว ชื่ออุจไฉศรวะ เมืองที่สถิตเรียกอมราวดี(ในเทวภูมิว่าชื่อเมืองตรัยตรึงค์) มีปราสาท ชื่อเวชยันต์
หรือไพชยนต์ สวนชื่อนันทนะ จิตรลดา ปารุสกะ มีแท่นชื่อบัณฑุกัมพล มีช้างชื่อไอราพต หรือเอราวัณ
เธอชอบเสวยน้ำโสม(ทำนองสุรา) เพื่อทำให้กล้าในการสงคราม

พระอินทร์มีมเหสีมากมาย ในเทวภูมิปรากฎชื่อมเหสีทั้งสี่ คือ สุธรรมา สุชาดา สุนันทา สุจิตรา และยังมีนางฟ้า
ซึ่งเป็นชายาอีกถึง92นาง มีเมียที่จัดเป็นนางบำเรออีก24ล้านนาง ส่วนในพระเวทปรากฎออกหน้า ออกตาองค์
หนึ่งชื่ออินทราณี หรือศจี และมีโอรสชื่อชยันตะ อันเกิดแต่พระอินทราณี ในรามายณะว่า พาลีก็เป็นลูก พระอินทร์ เกิดแต่นางอหลยา ผู้เป็นชายาโคดมฤษี ในมหาภารตะว่า พระอรชุน กษัตริย์ปาณฑพกเ็ ป็น บุตรพระอินทร์เกิดจากนางกุนตี มเหสีท้าวปาณฑุ

ในยุคไตรเพทมีบทสรรเสริญพระอินทร์เป็นอันมาก เพราะชนชาวอริยะกะถือกันว่าพระอินทร์เป็นเทพารักษ์อัน
ใหญ่ยิ่งของตน และว่าเป็นสหายของพระวิษณุแต่กลับเป็นใหญ่กว่าพระวิษณุด้วยซ้ำ และเขาว่า พระอินทร์เป็นผู้นำให้พวกอริยกะจะอพยพเข้าไป ในชั้นหลังๆนี้พระอินทร์ตกต่ำลงถึงเป็นรองพระเจ้าทั้ง สามแต่ยังคงเป็นใหญ่ในพวกเทวดา ชั้นดาวดึงส์แม้พระอินทร์จะเป็นผู้รบเก่ง แต่ปรากฎว่าแพ้อสูรก็มีเช่น แพ้เมฆนาท(อินทรชิต) ลูกทศกัณฐ์ และเคยขอร้องให้พวกกษัตริย์ไปช่วยรบก็หลายคราว เช่น วานท้าวทศรถในเรื่องรามเกียรติ์

และวานท้าวทุษยันต์ในเรื่องศกุนตลาไปปราบกาลเนมี เป็นต้น และถ้าดูต่อไปถึงความประพฤติแล้ว
พระอินทร์มีทั้งความดีและความทรามในส่วนความดีนั้นเธอมีพระหทัยเมตตากรุณาแก่มนุษย์มากจะสังเกต ได้ว่าถ้าใครตกทุกข์ได้ยากหรือพลัดพรากจากกัน เธอก็ช่วยจัดการให้ได้พ้นทุกข์หรือได้พบปะกัน

ในทางพระพุทธศาสนา จะเป็นพุทธนิมิตหรืออย่างไรก็ตาม ว่าพระอินทร์ได้มาดีดพิณสามสายถวายพระสติ
แห่งบรมโพธิสัตว์ของเราในปางทุกรกิริยา และในทศชาดก และชาดกอื่นๆก็ดื่นไปด้วยพระอินทร์ลงมารุ่มร่าม
ในเมืองมนุษย์อยู่บ่อยๆ เช่น เรื่องพระเวสสันดร พระอินทร์ก็ลงมาขอพระมัทรี เรื่องพระจันทกุมาร ก็มาช่วย
ทำลายพิธี และเคยเอาม้ามาให้พระยาแกรกตามพงศาวดารเหนือทั้งเคยมาช่วยในการหล่อพระพุทธชินราช
กับเคยช่วยในการที่พระนาคเสนสร้างพระแก้วมรกต ตลอดถึงเคยเอากลองมาให้ท้าวอู่ทองสร้างเมืองตรัยตรึงศ์

ขอให้ดูว่าภารธุระของพระอินทร์ยุ่งเหยิงเพียงใด เราอาจทายได้หรือไม่ว่าต่อจากนี้ไปพระอินทร์เธอจะไม่
มาเปะปะในเมืองมนุษย์อีกต่อไปแล้วเพราะเหตุใด ท่านต้องพิจารณาเอง ส่วนความประพฤติทางเลวแล้ว
พระอินทร์ออกจะทรามลงเป็นอันมาก เช่น เสียงองค์อทินนาทาน โดย

พระอินทร์เคยแปลงตัวเป็นรากษส ไปลักม้าสำคัญของท้าวสัคระในเมื่อกำลังทำพิธีอัศวเมธ และเมื่อครั้งต้น
พุทธกาลคราวแบ่งพระบรมสารีริกธาตุพระอินทร์ก็ได้เคยขโมยพระทันตธาตุ(พระเขี้ยวแก้ว) ไปจากมวยผม
โทณพราหมณ์ นอกจากนี้ยังประพฤติไปในทางกามมิจฉาจาร เที่ยวทำชู้กับภรรยาเขา ในมหาภารตะเล่าว่า
พระอินทร์เคยทำชู้กับนางอหลยา ชายาพระโคดมฤษี จนถูกสาปให้โยนีผุดขึ้นเต็มตัว ภายหลังจะไป วิงวอนลุโทษ ตัวอย่างไร รูปโยนีนั้นจึงกลายเป็นตาทั่วตัว เลยมีนามว่า สหัสนัยน์ พระอินทร์นี้เธอมีหน้า
ที่เป็นโลกบาลประจำทิศบูรพา