กาตฺยายนี เคารี กาลี ไหมวตี อีศฺวรี ศิวา ภวานี รุทฺราณี ศรฺวาณี สรฺวมงฺคลา อปรฺณา ทุรฺคา มฺฤทานี จณฺฑิกา อมฺพิกา อารฺยา ทากฺษายณี คิริชา เมนกาตฺมชา จามุณฺฑา กรฺณโมฏี จรฺจิกา และไภรวี เมืองของพระศิวะ ชื่อ ยโศมตี อยู่ที่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของยอดเขามหาเมรุ

ลักษณะของพระศิวะ มีดังนี้ ทรงมุ่นมวยผม(ชฏา)สีแดงซึ่งเรียกว่า กปรฺท พระศิวะจึงมีพระนามว่า กปรฺที มีพระเนตร 3 ดวง จึงมีพระนามว่า ตฺริเนตฺร บ้าง ผาลเนตฺร บ้าง อคฺนิโลจน บ้าง ทรงถือ ตรีศูล อาวุธอีกอย่างหนึ่งของพระองค์คือ ธนูปินาก ดังนั้น พระองค์จึงมีพระนามว่า ปินากี หรือ ปินากปาณิ ทั้งพระศิวะและโคนันทิพาหนะของพระองค์มีสีขาว สีขาวนี้บ่งบอกถึงความเที่ยงธรรมในการทำลายโลก พระศิวะมี สองกรบ้าง สี่กรบ้าง แปดกรบ้าง และสิบกรบ้าง นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังทรงถือ คทาชื่อ ขฏฺวางฺค ธนูชื่อ อชคว กวาง ลูกประคำหัวกระโหลก ฑมรุ (บัณเฑาะว์) มีพระนางคงคาและพระจันทร์อยู่ที่พระเศียร จึงมีพระนามว่า คงฺคาธร และ จนฺทฺรจูฑ ทรงสรวมพวงมาลัยทำด้วยหัวกระโหลก ทรงนุ่งหนังเสือดาวและใช้หนังช้างเป็นผ้าห่ม มีงูเป็นเครื่องประดับส่วนต่างๆของพระวรกาย

พระนาม 1008 ของพระศิวะ


คัมภีร์ลิงคปุราณะ กล่าวถึงพระนามของพระศิวะว่ามี 1008 ที่น่าสนใจมีดังต่อไปนี้
1)สฺถิร (มั่นคง)
2)สฺถาณุ(นิ่งไม่เคลื่อนที่เหมือนตอไม้)
3) ภานุ(พระอาทิตย์)
4)สรฺวาตฺมนฺ (อาตมัน=ชีพหรือชีวิตของทุกสิ่ง)
5) สรฺวกร (ทำทุกอย่าง)
6) ภว (ที่มาของทุกสิ่ง)
7) ชฏินฺ (มีมุ่นมวยผม)
8) สรฺวภูตหร (ผู้ทำลายสิ่งมีชีวิตทุกชนิด)
9) ศฺมสานวาสินฺ(อาศัยอยู่ในป่าช้า)
10) เขจร(ผู้เดินในท้องฟ้า )
11) โคจร (ผู้เดินบนดิน)
12) อุนฺมตฺตเวษ (ผู้อยู่ในรูปของคนบ้า
13)สหสฺรากฺษ(มีตาหนึ่งพัน)
14) มฤคพาณารฺปณ (ผู้ที่ยิงศรไปที่กวาง)
15) กมณฺฑลุธร (ผู้ถือหม้อน้ำกมัณฑลุ)
16) กปาลวานฺ (มีกระโหลกศรีษะมนุษย์)
17) สรฺวชฺญ (รู้ทุกอย่าง) 18) หร ((ผู้ทำลาย)
19)วฺฤษวาหน (มีโคเป็นพาหนะ)
20) อูรฺธฺวลิงฺค (มีอวัยวะเพศชูขึ้นเบื้องบน)
21) อโหราตฺร (กลางคืนและกลางวัน)
22) กามนาศก (ผู้ทำลายกามเทพ)
23) วิศฺวภุกฺ (ผู้กลืนกินจักรวาล)
24) วฺยาลาลรูปินฺ (มีรูปเป็นเสือ)
25) กาล (กาลเวลา/ความตาย) ฯลฯ

พระศิวะตามคติไทย

คตินี้กล่าวตามสมุดไทยที่ ประพันธ์ สุคนธะชาติ รวบรวมและจัดพิมพ์เผยแพร่ โดยให้ชื่อเรื่องว่า “นารายณ์สิบปางฉบับสมุดไทย” สมุดอ้างตอนท้ายฉบับว่า “แปลออกจากอักษร(คฤนถ์?)ตามคำภีร์ไสยสาตร4)” อักษรคฤนถ์หรือ ครันถะ ใช้อยู่ในภาคใต้ของอินเดียสมัยโบราณ ดั้งนั้นต้นเดิมของเรื่องในคัมภีร์ดังกล่าวก็น่าจะมาจากอินเดียภาคใต้ คัมภีร์ดังกล่าวมีชื่อว่าคัมภีร์ไสยศาสตร์ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง กล่าวเริ่มเรื่องว่า - เมื่อเพลิงบรรลัยกัลป์สังหารโลกสิ้นแล้ว มีแต่ความว่างเปล่า ครั้งนั้นพระเวทพระธรรมทั้งหลายก็มาประชุมกันเข้า ก็บังเกิดเป็นพระเจ้าองค์

คำว่าไสยศาสตร์ น่าจะเป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำสันสกฤตว่า ไศวศาสตร์ (ไศว+ศาสฺตฺร) ซึ่งแปลว่า ศาสตร์หรือวิชกาการที่เกี่ยวกับพระศิวะ ซึ่งตรงกับเนื้อหาของลัทธิไสยศาสตร์ อันเป็นลัทธิที่เกี่ยวกับการใช้เวทมนตร์คาถา ในอินเดียลัทธินี้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับพวกที่นับถือว่าพระศิวะเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุด ซึ่งเรียกว่า ไศวะ ลัทธินี้ชาวอินเดียฝ่ายใต้นิยมนับถือมากกว่าอินเดียฝ่ายเหนือ

หนึ่งพระนามว่า ปรเมศวร พระปรเมศวรจึงเอาพระหัตถ์ลูบพระอุระแล้วสะบัดออกไปเบื้องพระพักตร์ เกิดเป็นพระเป็นเจ้าอีกองค์หนึ่งพระนามว่า อุมาภควดี ทั้งสองพระองค์ทรงปรึกษากันที่จะสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นในโลก พระอุมาเสนอแนะให้สร้างพระเป็นเจ้าขึ้นมาอีกองค์หนึ่ง พระปรเมศวรจึงเอาพระหัตถ์ขวาลูบพระหัตถ์ซ้าย เกิดเป็นพระนารายณ์ขึ้นมาอีกองค์หนึ่ง จากนั้นพระปรเมศวรทรงใช้พระหัตถ์ซ้ายลูบพระหัตถ์ขวาบังเกิดเป็นพระพรหมธาดาขึ้นมาอีกองค์หนึ่ง เมื่อพระเป็นเจ้าเกิดขึ้นมาครบสามองค์แล้วพระอิศวรจึงสำรอกพระมางสะจากพระอุทร บันดาลให้เป็นแผ่นดิน แล้วจึงเอาจุฬามณีที่ปักพระเกศาปักลงเหนือแผ่นดิน พระเป็นเจ้าทั้งสามองค์ก็บันดาลให้เป็นเขาพระสุเมรุ จากนั้นจึงสร้างเทวดาไว้ที่เขาพระสุเมรุ จากนั้นพระอิศวรทรงเปลื้องสังวาลย์บันดาลให้เป็นพระอนันตนาคราช อันมีศักดานุภาพยิ่งนัก ต่อมาอนันตนาคราชได้ท้าให้เทพทั้งหลายมาประลองฤทธิ์กับตน พระพายุจึงขันสู้กับอนันตนาคราช

มีคติอยู่ว่าในปีหนึ่ง ๆ พระอิศวรจะเสด็จลงมาเยี่ยมโลก มีกำหนดระยะเวลา 10 วัน โดยเริ่มแต่วันขึ้น 7 ค่ำ เดือนยี่ ถึงวันแรม 1 ค่ำเดือน ยี่ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ พราหมณ์จะจัดพิธีเฉลิมฉลองเพื่อต้อนรับการเสด็จ ซึ่งเรียกว่า พิธีตรียัมพวาย ต่อจากนั้น ก็จะมีการโล้ชิงช้าและบวงสรวงสังเวยตลอดระยะเวลาดังกล่าว


หน้าที่ : 1 | 2