นามของพระวายุนี้ ในพระเวทเรียก วาตา บางแห่งเรียกว่า พระพาย บ้าง มารุต บ้าง บางแห่งรียกว่า อนิล คันธาวหะ ปวันวาตะ ก็มี

ตามเรื่องเนื่องสาเหตุมาแต่นางทิติ มเหสีฝ่ายซ้ายของพระกัศยปเทพบิดรผู้เป็นมารดาของ พวกแทตย์และ อสูรที่แพ้เทวดาและพระอินทร์คราวทำน้ำอมฤตนึกน้อยใจว่า มีลูกสู้พวกเทวดาไม่ได้ ใคร่เอาชนะ จึงไป เฝ้าพระกัศยปะทูลวิงวอนขอลูกชายใหม่ เพื่อให้เป็นศัตรูกับพระอินทร์และพรรคเทวินทร์

พระกัศยปะบอกให้นางไปบำเพ็ญตบะร้อยปีจึงจะให้ลูกได้ นางทิติก็ไปยังตำบลกุศปลพ ตั้งความเพียรอย่าง เคร่ง พระอินทร์ทราบเหตุจึงไปอยู่ปฏิบัตินางทิติ นางทิติรักเหมือนบุตรของนางนางจึงบอกแก่พระอินทร์ว่า
ลูกที่ตั้งใจจะให้เป็นศัตรูต่อพระอินทร์นั้น เมื่อคลอดมาแล้วจะให้เป็นมิตรอย่างสนิทแต่พระอินทร์ไม่ไว้ใจ
คอยทีอยู่ ครั้นนางทิตินอนผิดทิศ คือเอาหัวนอนเป็นปลายตีน พระอินทร์ก็ได้ช่องปาฏิหาริย์เข้าไปในครรภ์นาง
เอาวัชระตัดลูกในท้องเป็นเจ็ดภาค

ครั้นนางตื่นขึ้น รู้สึกตัวว่าผิดไป จึงเลยมอบลูกทั้งเจ็ดให้เป็นบริวารของพระอินทร์ ขอให้ได้รักษามรุตทั้งเจ็ด ฉะนั้นบุตรนางทั้งเจ็ดจึงมีนามว่ามารุต พระอินทร์จึงแบ่งหน้าที่ให้ ๑เป็นลมตะวันออก ๒ เป็นลมตะวันตก
๓ เป็นลมเหนือ ๔ เป็นลมใต้ ๕ เป็นลมพัดในเทวโลก ๖ เป็นลมพัดในพรหมโลก๗ เป็นทิพยวายุ คือลมในอากาศ

พระวายุมีกำเนิดดังว่ามานี้

พระวายุนี้ นับว่าเป็นเทวดาสำคัญองค์หนึ่ง ในทางไสยศาสตร์ถือว่าเป็นเทพเจ้าผู้ประสิทธิ์ประสาทการลม ได้รับหน้าที่เป็นโลกบาลทิศพายัพด้วย (ทิศเรียกตามนามเทวดา) และในรามายณะ กล่าวว่า

พระวายุนี้เป็นบิดาของหนุมาน โดยนางอัญชนาเป็นมารดาไม่ใช่นางสวาหะ และเคยมีเรื่องอีกครั้งหนึ่งว่า
พระวายุได้เคยชักชวนธิดาพระกุศนาภทั้งร้อยกลายเป็นนางค่อม (กันยากุพชะ) แต่ลักษณะกายของพระวายุนี้ ตามพระเวท ว่า มีกายเป็นสีขาว เสื้อทรงสีน้ำเงิน มีสี่กร กรขวาถือลูกศร กรซ้ายถือธง ทรงมงกุฎพาหนะ
โดยเฉพาะคือมฤค หรือรถเป็นแก้ว ใช้เทียมด้วยมาสีแดงหรือม่วง ถ้าเขียนรูป ก็น่าจะเป็นเทวดา ผู้มี หน้าตา ค่อนข้างดุ เพราะสืบกำเนิดมาจากนางทิติ ผู้เป็นมารดาของแทตย์และอสูร แต่ควรมีอาภรณ์อย่างพระอินทร์ เพราะเป็นลูกเมียน้อยเมียหลวงร่วมบิดา