พระคเณศที่เก่าที่สุดในโลก

พระคเณศที่เก่าที่สุดในโลกอยู่ที่ หมู่บ้าน ปิลไลยาร์ปัตติ ห่างจากเมืองกะไลกุดิ จังหวัดศิวะคังไค รัฐตามิลนาดู อินเดียภาคใต้ 12 กม. บนเส้นทางระหว่างเมืองกะไลกุดิ-มทุไร หมู่บ้านปิลไลยาร์ปัตติ ได้ชื่อมาจากเทวาลัยพระวินายกะ หรือ คเณศ ที่อยู่ ณ หมู่บ้านแห่งนี้ ภาษาทมิฬเรียกพระคเณศว่าปิลไลยาร์ (ตัว ร ที่เติมท้าย คำภาษาทมิฬ เป็นการแสดงความเคารพ เหมือนคำว่า พระ หรือ ท่าน ดังนั้น อาจารยาร์= ท่านอาจารย์) พระปิลไลยาร์ ทำให้เทวาลัยแห่งนี้เป็นที่เคารพนับถือของคนเป็นจำนวนมาก เพราะผู้ที่มา กราบไหว้บูชา จะได้รับพรให้ประสบความสำเร็จเป็นที่ เลื่องลือ จนมีผู้ให้สมยานามท่านว่ากัลปกะ วินายกะร์ “ท่านวินายกะ ผู้ประทานสิ่งที่ต้องการเหมือนต้นกัลปพฤกษ์” คนเชื่อกันว่า ขอสิ่งใดก็ได้สิ่งนั้น

เทวาลัยแห่งนี้มีอายุ 1600 ปี มีหลักฐานคือจารึกบนหิน 14 หลัก ที่เทวาลัยแห่งนี้มีอายุตั้งแต่ พ.ศ. 943-1781 บอกให้ เราทราบว่า สถานที่แห่งนี้เดิมทีมีชื่อว่า “เอกกัตตูร์” “ติรุวีนไกกุดี” “มรุตันกุดี” “ราชา นารายณปุรัม” ก่อนที่จะมาเรียกกันว่า ปิลไลยาร์ปัตติ

ราวปี พ.ศ.1827 สถานที่แห่งนี้ตกเป็นสมบัติของพวก นาคะรถะร์ หรือ พวก เฉตติย์ นัตตุกโกฏไฏ พระนามเดิม ของ พระคเณศ ที่เทวาลัยแห่งนี้ คือ “เทศี วินายกะ ปิลไลยาร์”

เทวาลัยนี้สร้างโดยวิธีสลักโขดหินเป็นเทวาลัยไม่ใช่โดยวิธีก่อสร้าง โดยพระราชาราชวงค์ปาณฑยะยุคต้นๆ เทวรูปพระกัลปกะ วินายกะ และพระศิวลิงค์ ก็สลักจากหินเป็นก้อนๆโดยประติมากร ชื่อ“เอกัฏฏูร์ กูน เปรุปรนัน” ซึ่งได้เซ็นชื่อเป็นภาษาทมิฬไว้ อักษรที่ใช้เซ็นชื่อเป็นอักษรที่ใช้ระหว่าง พุทธศตวรรษที่7 (คริสต์ศตวรรษที่ 2) และ พุทธศตวรรษที่ 10(คริสต์ศตวรรษ 5) จึงสันนิษฐานได้ว่าพระคเณศองค์นี้สร้าง ขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 9

(คริสต์ศตวรรษที่ 4) สิ่งที่บ่งบอกว่าพระคเณศองค์นี้เก่ามาก ก็เนื่องจากว่า มีเพียง 2 กร พระคเณศที่มี สอง กร มีน้อยมากองค์หนึ่งก็คือ วินายกะ ปิลไลยาร์ปัตติ องค์นี้ ส่วนอีกองค์หนึ่งอยู่ใน อาฟกานิสถาน ลักษณะ ที่ต่าง ไปจากรูปพระคเณศองค์อื่นๆอีกประการหนึ่งก็คือ งวงที่งอไปทางด้านขวา (ของเทวรูป) ซึ่งลักษณะ อย่างนี้

หายากเหมือนสังข์ทักษิณาวรรต ลักษณะที่หาได้ยากอีกประการหนึ่งก็คือ พระคเณศองค์นี้หัน พระพักตร์ไป ทางทิศ เหนือ สิ่งที่บ่งบอกว่าเทวาลัยแห่งนี้เก่าแก่ก็คือ มีร่องรอยของการบูชาต้นไม้ ต้นไม้ประจำเทวาลัยแห่งนี้ (สฺถลวฤกฺษ) คือไม้ มรุธัม ต้นไม้ ดังกล่าวที่ตายแล้ว ยังได้รับ การกราบไหว้บูชาจนทุกวันนี้


หน้าที่ : 1 | 2