พระลักษมี

พระลักษมีใน ไตตติรียสัมหิตา ว่าเป็นมเหสีพระนารายณ์ นามของพระลักษมี เรียกกันหลายชื่อ ซึ่งบางคน อาจเข้าใจว่าพระนาราย์มีเมียหลายก็ได้ แต่ที่แท้ก็คือเป็นนามของพระลักษมีมีองค์เดียว เช่นเรียกว่า พระศรี
ภวควดี ปัทมา ชลธิชา โลกมาตา เป็นต้น

พระลักษมีมีกำเนิดจากฟองในคราวเทวดาและอสูรกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤต จึงได้นามว่า ชลธิชา

(เกิดแต่น้ำ) หรือ กษีราพธิดนยา (ลูกสาวแห่งทะเลน้ำนม) ในขณะที่ผุดขึ้นมานั้นนั่งมาในดอกบัวและมือถือ
ดอกบัว ด้วยจึงมีอีกนามหนึ่งว่า ปัทมา หรือ กลลา แต่ในอภิธานฮินดู(Hindu Classical DictionaRy หน้า ๑๗๖)
ว่า ในคัมภีร์ วิษณุปุราณะ กลับว่าพระลักษมีเป็นธิดาของพระฤษีภฤคุกับนางขยาติ และยังกล่าวต่อไปอีกว่า
พระลักษมีเป็นมารดาพระกามเทพด้วย

พระลักษมีมีคุณสมบัติเป็นอย่างเอก และถือกันว่าเป็นเทพนารีผู้อำนวยโชค มีน้ำพระหทัยเมตตาปรานีอยู่
เป็นนิจ ทั้งว่าเป็นตัวอย่างแห่งนางที่งามตลอดถึงรูปและกิริยามารยาทมีวาจาอันยวนเสน่ห์และไพเราะ
ทั้งถือกันว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเจริญทุกประการ จึงเรียกว่าพระภควดี นับกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์บรรดาสตรี
ทุกชั้น ส่วนรูปมักเขียนเป็นสตรีที่งามยิ่งมีสองกรอย่างธรรมดา (บางแห่งก็ว่ามีสี่กร) สีกายเป็นสีทอง เสื้อทรงสีเหลืองนั่งหรือยืนบนดอกบัวและมือถือดอกบัว

อนึ่ง พระลักษมีมักเป็นคู่สังวาสกับพระนารายณ์เสมอๆ เช่นพระนารายณ์อวตารเป็นพระราม พระลักษมีก็ตาม ไปเกิดเป็นนางสีดา ในปางกฤษณาวตารก็ไปเป็นนางรุกมิณี ปางปรศุรามาวตารเป็นนางธรณีปางวามนาวตาร
เป็นนางกมลา เป็นต้น

หน้าที่สำคัญของพระยม ว่าเป็นโลกบาลทิศทักษิณ และมีหน้าที่เป็นตุลาการของเปตชน และวินิจฉัยชั่ง
ความดี (บุญ) ความชั่ว (บาป) แห่งมโนผู้ที่ล่วงลับไป ถ้าความดีมีมากก็ส่งไปสวรรค์ ถ้าชั่วมากก็ส่งไปนรก สำหรับการทรมานใช้บาปที่ตนกระทำไว้

พระยมนี้นัยว่าเดิมเป็นกษัตริย์ครองนครไพศาลี ในขณะที่ทำศึกอย่างฉกรรจ์ได้อธิษฐานขอเป็นเจ้านรก การนั้นก็สมปรารถนา แม่ทัพ ๑๘ คนกับทหาร ๘๐,๐๐๐ คนก็ตามไปเกิดในนรกด้วย แบ่งหน้าที่ต่างๆกัน
แต่พระยมยังมีกรรมตามสนองอันหนึ่งที่ตนได้กระทำไว้ คือในระยะ ๒๔ ชั่วโมงจะมีปีศาจมากรอกน้ำทองแดง
ลงไปในปากสามครั้งเสมอๆไปจนกว่าจะสิ้นกรรมจึงจะได้ไปบังเกิดเป็นท้าวสมันตราช

พระยมนี้มีที่อยู่เป็นเมืองใหญ่โตมาก ในตำรับว่าด้วยนรกภูมิว่า อยู่ใต้แผ่นดินที่พวกเราอยู่กันเดี๋ยวนี้ เรียกว่ายมโลก คือเมืองนรก เมืองนรกมีเขตที่สำหรับทรมานสัตว์บาปมากมายว่าสำหรับเขตที่ใหญ่เรียกว่าขุม
มีแปดขุม เรียงลำดับลงไปเป็นชั้นๆ คือ ๑ สัญชีวนรก ๒ กาลสูตรนรก ๓ สังฆาฏนรก ๔ โรรุวนรก ๕ มหาโรรุวนรก๖ ตาปนรก ๗ มหาตาปนรก ๘ อเวจีนรก

นอกจากนี้ยังมีขุมเล็กๆน้อยๆอีกเป็นอันมากอยู่ในความอำนวยการของพระยมทั้งสิ้น ส่วนความนิยม ทางไสยศาสตร์ว่าเมืองของพระยมชื่อยมปุระอยู่นอกขอบจักรวาลในทักษิณเทศเข้ารูปที่ว่าพระยม
เป็นโลกบาลทิศทักษิณ แต่ใน เทวภูมิว่า พวกโลกบาลทั้งสี่อยู่สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
พระยมก็เป็นโลกบาลในทิศทั้งสี่กับเขาด้วยองค์หนึ่ง จึงอาจจะต้องถูกเกณฑ์ให้ไปอยู่สวรรค์ชั้นนี้ด้วยก็ได้

ส่วนทางศาสนาอิสลามเรียกนรกว่ายะหะนัม ว่าเป็นที่อยู่ของพระยมเหมือนกัน แต่เรียกชื่อพระยมว่าท้าว อสราอิลมหาราช อิสลามจัดนรกไว้เพียงเจ็ดขุม คือ ขุม ๑ สำหรับลงโทษผู้ที่ไม่ถือศาสนา ซ้ำปฏิเสธว่า ไม่มีผู้สร้าง ขุม ๒ สำหรับลงโทษพวกมานีเดียน คือพวกถือศาสนาคริสเตียนครึ่งหนึ่งศาสนาปาร์ซีครึ่งหนึ่ง (ศาสดาแมนนิสตั้งขึ้นเมื่อคริสต์ศักราช ๒๖๑) กับพวกอาหรับที่ยังถือรูปเคราพ ขุม ๓ สำหรับพวกพราหมณ์ใน อินเดีย ขุม ๔ สำหรับพวกยิว ขุม ๕ สำหรับพวกคริสเตียน ขุม ๖ สำหรับพวกมาเยียนถือศาสนาเปอร์เซีย ขุม ๗ สำหรับพวกหน้าไหว้หลังหลอก ปากว่าเชื่อแต่ใจไม่ถือศาสนาอิสลามจริง

เมืองซึ่งเป็นที่อยู่ของพระยมนี้ เกือบทุกศาสนาได้จัดไว้หมือนๆกันแต่ต่างลัทธิในการที่จะจับคนลงนรกก็คือว่า ผู้ใดไม่ถือศาสนา หรือปฏิบัติตามวินัยหรือข้อบังคับของผู้ที่ได้ตั้งขึ้นอย่างเคร่งครัด
ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าบาปแล้วก็จับผู้บาปนั้นและทุ่มลงนรกโดยไม่ปรานีปราศรัย